บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED3208
อาจารย์ผู้สอน ว่าที่ร้อยตรีกฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด
วันที่ 31 เดือนมีนาคม 2558
กลุ่มเรียน 104 (วันอังคาร) เวลา 13:30-17:30 น.
ความรู้ที่ได้รับ
โครงสร้างหลักสูตร
สาระที่ควรเรียนรู้
- เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
- เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคล และสถานที่
- ธรรมชาติรอบตัว
- สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
ประสบการณ์สำคัญ
- ด้านร่างกาย
- ด้านอารมณ์และจิตใจ
- ด้านสังคม
- ด้านสติปัญญา
คุณลักษณะที่พึงประสงค์มี 12 ข้อ
ประสบการณ์สำคัญสำหรับเด็กอายุ 3-5 ปี จะครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ
1. ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย
2. ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการอารมณ์และจิตใจ
3. ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม
4. ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา
การเขียนแผนการจัดประสบการณ์ ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
จุดประสงค์ของการเขียนแผนการจัดประสบการณ์
เพื่อให้ผู้สอน
1. วางแผนล่วงหน้าในการจัดกิจกรรมร่วมกับเด็กได้เหมาะสมและสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
2. นำแผนการจัดประสบการณ์ไปใช้ในการจัดกิจกรรมประจำวันให้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
การจัดทำแผนการจัดประสบการณ์
1. ศึกษาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546 และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง
2. วิเคราะห์หลักสูตรสถานศึกษาและความสัมพันธ์ของ
* มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์
* ตัวบ่งชี้
* สภาพที่พึงประสงค์ของเด็กอายุ 0-3 ปี และ 3-5 ปี
3. วิเคราะห์สาระการเรียนรู้ ประสบการณ์สำคัญ
4. กำหนดรูปแบบการจัดประสบการณ์
5. เขียนแผนการจัดประสบการณ์
การเขียนแผนการจัดประสบการณ์
ขั้นที่ 1 เลือกเรื่อง
ขั้นที่ 2 ระดมความคิด
ขั้นที่ 3 คิดกิจกรรม
ขั้นที่ 4 จัดกิจกรรมตามพัฒนาการ
ขั้นที่ 5 จัดทำแผนการจัดประสบการณ์
ขั้นที่ 1 เลือกเรื่อง
- จากการสังเกตความสนใจ ความต้องการของเด็ก (ตามสภาพชีวิตจริงของเด็ก)
- เลือกเรื่องที่ชัดเจน ไม่กว้างจนเกินไป สามารถเชื่อมโยงกับเรื่องอื่นๆ ได้
* ไม่ควรเลือก : สัตว์ คมนาคม ฯลฯ (หัวข้อใหญ่มาก)
* ควรเลือก : ช้าง สุนัข ผีเสื้อ บ้าน น้ำ รถไฟ ฯลฯ
ขั้นที่ 2 ระดมความคิด
ขั้นที่ 3 คิดกิจกรรม
- ตามความคิดริเริ่มของเด็ก / ครู
- แยกตามกิจกรรมหลัก
1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
2. กิจกรรมสร้างสรรค์ (ศิลปะ)
3. กิจกรรมเสรี (การเล่นตามมุม)
4. กิจกรรมเสริมประสบการณ์ (วงกลม)
5. กิจกรรมการเล่นกลางแจ้ง
6. กิจกรรมเกมการศึกษา
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
- กิจกรรมที่จัดให้เด็กเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายตามจังหวะ
- ใช้เสียงเพลง คำคล้องจองและดนตรีประกอบจังหวะ
- เพื่อให้ส่วนต่างๆ ของร่างกายเคลื่อนไหวได้สัมพันธ์กัน
- ประกอบด้วยลักษณะการเคลื่อนไหว ทิศทางการเคลื่อนไหว รูปแบบการเคลื่อนไหว
กิจกรรมสร้างสรรค์ (ศิลปะ)
- กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกทางอารมณ์ ความรู้สึก ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการผ่านงานศิลปะในรูปแบบต่างๆ
- การวาดภาพ การปั้น การตัดปะ การฉีกปะ การร้อย การประดิษฐ์
กิจกรรมเสรี (การเล่นตามมุม)
- กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้เล่นหรือทำกิจกรรมต่างๆ อย่างอิสระตามมุมประสบการณ์ที่จัดไว้ในห้องเรียน
- มุมบล็อก มุมหนังสือ มุมวิทยาศาสตร์ มุมธรรมชาติ มุมบทบาทสมมติ (บ้าน ร้านค้า)
กิจกรรมเสริมประสบการณ์ (วงกลม)
กลุ่มเล็ก/ใหญ่
- กิจกรรมที่มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม
- ให้เด็กได้มีโอกาสฟัง พูด สังเกต คิด แก้ปัญหา ใช้เหตุผลและลงมือปฏิบัติเพื่อให้เกิดความคิดรวบยอดในกิจกรรมต่างๆ
- สนทนา อภิปราย ทดลอง สาธิต เล่านิทาน เล่นบทบาทสมมติ ร้องเพลง ท่องคำคล้องจอง ศึกษานอกสถานที่ เชิญวิทยากรมาให้ความรู้
กิจกรรมการเล่นกลางแจ้ง
- กิจกรรมที่จัดให้เด็กออกไปนอกห้องเรียนเพื่อเคลื่อนไหวร่างกายและแสดงออกอย่างอิสระ
- เล่นเครื่องเล่นสนาม เล่นทราย เล่นน้ำ การเล่นอุปกรณ์กีฬา การเล่นเกมการละเล่น
กิจกรรมเกมการศึกษา
- กิจกรรมที่ช่วยพัฒนาสติปัญญาผ่านเกมที่มีกติกาง่ายๆ
- เล่นคนเดียว / เล่นเป็นกลุ่ม
- ช่วยให้เด็กรู้จักการสังเกต คิดหาเหตุผลและเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสี รูปร่าง จำนวน ประเภท และมิติสัมพันธ์
- เกมจับคู่ แยกประเภท จัดหมวดหมู่ เรียงลำดับ โดมิโน ลอตโต ภาพตัดต่อ
ที่มาของกิจกรรม
ตัวอย่างการกำหนดกิจกรรม “สายรุ้ง”
ขั้นที่ 4 จัดกิจกรรมตามพัฒนาการ
นิทานสายรุ้ง
เพลงรุ้งกินน้ำ
การกำเนิดสายรุ้ง
คำถามจากกิจกรรม
ขั้นที่ 5 จัดกิจกรรมตามตารางประจำวัน
ทำบันทึกการสอน
- พิจารณากิจกรรมใดทำก่อนหลัง
- จัดกิจกรรมลงตามรูปแบบที่ให้เลือก
รูปแบบที่ 1 แบบการจัดประสบการณ์แต่ละวันเขียนแยกตามกิจกรรมประจำวัน
รูปแบบที่ 2 เขียนแยกเป็นวันเฉพาะกิจกรรมหลักและดำเนินการสอนตามตารางกิจวัตรประจำวัน
รูปแบบที่ 3 เขียนแยกตามพัฒนาการในแต่ละวัน แล้วนำไปจัดตามตารางกิจกรรมประจำวัน
ตัวอย่างแผนการจัดประสบการณ์ แบบที่ 1
ชื่อหน่วย :
กิจกรรม :
ตัวอย่างแผนการจัดประสบการณ์ แบบที่ 2
ตัวอย่างแผนการจัดประสบการณ์ แบบที่ 2 (ต่อ)
ตัวอย่างแผนการจัดประสบการณ์ แบบที่ 2 (ต่อ)
สาระการเรียนรู้ : 1. สาระที่ควรเรียนรู้
2. ประสบการณ์สำคัญ
ตัวอย่างแผนการจัดประสบการณ์ แบบที่ 2 (ต่อ)
ตัวอย่างแผนการจัดประสบการณ์ แบบที่ 3
1. วัตถุประสงค์
หลังจากจัดประสบการณ์หน่วย/เรื่อง........................เด็กเกิดการเรียนรู้ ดังนี้
...........................................................................................................................
2. สาระการเรียนรู้ ...................................................
3. เนื้อหา ................................................................
4. แนวคิด ...............................................................
5. ประสบการณ์สำคัญ
ตัวอย่างแผนการจัดประสบการณ์ แบบที่ 3 (ต่อ)
แผนที่เครือข่ายใยแมงมุม (Web)
กิจกรรมตามตารางกิจกรรมประจำวัน
แนวการประเมินผลการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
- ประเมินผลทั้งความรู้ ความคิด ความสามารถ ทักษะและกระบวนการ เจตคติ คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมรวมทั้งโอกาสในการเรียนรู้ของผู้เรียน
- วิธีวัดและประเมินผลสอดคล้องกับมาตรฐานและตัวชี้วัดของการศึกษาปฐมวัยที่กำหนด
- ประเมินผลอย่างตรงไปตรงมา และประเมินภายใต้ข้อมูลที่มีอยู่
- ผลการประเมินต้องนำไปสู่การแปรผลและลงข้อสรุปที่สมเหตุสมผล
- มีความเที่ยงตรงเป็นธรรม ทั้งในด้านของวิธีวัดและโอกาสของการประเมิน
จุดมุ่งหมายของการประเมิน
- วินิจฉัยความรู้ ความคิด ความสามารถ ทักษะและกระบวนการ เจตคติ คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม เพื่อพัฒนาผู้เรียนได้เต็มตามศักยภาพ
- ใช้เป็นข้อมูลสะท้อนกลับว่าครูสามารถสอนบรรจุกรอบมาตรฐานการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยที่กำหนดไว้
- ใช้เป็นข้อมูลในการสรุปผลการเรียนรู้และเปรียบเทียบถึงระดับพัฒนาการของผู้เรียน
การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง
- ประเมินกระบวนการเรียนรู้ที่นำมาสู่ผลผลิตจากการเรียนรู้
- ประเมินความสามารถเพื่อส่งเสริม หรือ แก้ไขปรับปรุง เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพเป็นรายบุคคล (ความสามารถ ความสนใจ ความต้องการ)
- ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการประเมินทั้งการประเมินตนเองและเพื่อน
- ข้อมูลที่ได้จากการประเมินจะสะท้อนกระบวนการเรียนการสอนและวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครู
- ประเมินการนำไปใช้ในชีวิตจริง
- ประเมินด้านต่างๆ ด้วยวิธีการที่หลากหลายในสถานการณ์ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
วิธีการ แหล่งข้อมูลและเครื่องมือในการประเมินผลการเรียนรู้
แนวทางการให้คะแนนเพื่อการประเมิน : Rubric
- แนวทางการประเมินจากสภาพจริง ให้ความสำคัญต่อการแสดงออกที่แท้จริงของผู้เรียนขณะทำกิจกรรม
- งานหรือกิจกรรมที่กำหนดให้ผู้เรียนทำมีแนวไปสู่ความสำเร็จของงานและมีวิธีการหาคำตอบหลากหลายแนวทาง
- ต้องมีการกำหนดแนวทางการให้คะแนนอย่างชัดเจน จะต้องมีมาตรวัดว่าผู้เรียนทำอะไรได้สำเร็จและระดับความสำเร็จอยู่ในระดับใด
การประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนการจัดประสบการณ์หน่วย เรื่อง...................
ทำเครื่องหมาย / ลงในช่องที่ต้องการ
ประเมินหลังการสอน
การนำไปใช้
- ทำให้รู้ว่าการเขียนแผนได้ถูกต้องมากขึ้น
- ทำให้รู้กระบวนการเขียนแผนที่ชัดเจน
- ทำให้รูปว่ารูปแบบการเขียนแผนนั้นมีหลายแบบ
ประเมิน
ตนเอง : เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ฟังและจดบันทึกในขณะที่อาจารย์สอน
เพื่อน : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีบางคนที่คุยในขณะที่อาจารย์สอน บางคนก็ตั้งใจฟังและจดบันทึกเนื้อหาเพิ่มเติม
อาจารย์ : แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มาสอนตรงเวลา อธิบายเนื้อหาของการทำแผนการสอนได้ชัดเจน มีการเน้นสี เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่ายและไม่ค่อยสับสน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น